การทำธุรกรรมกู้ยืมเงินมักเกี่ยวข้องกับการจำนองทรัพย์สินเป็นหลักประกัน การบังคับจำนองเป็นเรื่องสำคัญทางกฎหมายที่ผู้กู้และผู้ให้กู้ควรเข้าใจ เพราะเกี่ยวข้องกับการจัดการหนี้สินและข้อบังคับทางกฎหมายที่เข้ามาเกี่ยวข้อง วันนี้เราจะมาอธิบายว่าการบังคับจำนองคืออะไร
การบังคับจำนองคืออะไร?
การบังคับจำนองคือการดำเนินการตามกฎหมายเพื่อให้ลูกหนี้ที่ไม่ชำระหนี้ตามกำหนดที่ตกลงกันไว้ต้องรับผิดชอบ กล่าวคือ หากเจ้าหนี้และลูกหนี้ทำสัญญาจำนองและกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ แต่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามที่กำหนด เจ้าหนี้มีสิทธิใช้สิทธิ์ตามกฎหมายในการบังคับจำนอง
เจ้าหนี้ต้องส่งหนังสือแจ้งเตือนให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตามกำหนด ซึ่งต้องแจ้งล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า 60 วันนับจากวันที่ลูกหนี้ได้รับหนังสือ หากลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตาม เจ้าหนี้สามารถยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อบังคับจำนองได้
การบังคับจำนองทำได้กี่วิธี?
การบังคับจำนองทำได้ 2 วิธี โดยการฟ้องร้องต่อศาล ได้แก่ การขายทอดตลาดและการยึดทรัพย์สิน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้:
- ขายทอดตลาด
การขายทอดตลาดคือการยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อยึดทรัพย์สินที่นำมาจำนองแล้วนำมาขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้ ศาลจะตัดสินกรณีที่เจ้าหนี้ได้ส่งหนังสือแจ้งเตือนการชำระหนี้แก่ลูกหนี้แล้ว แต่ลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้ ทำให้เจ้าหนี้ต้องยื่นฟ้องต่อศาล
หากทรัพย์สินที่ขายทอดตลาดมีมูลค่าต่ำกว่าหนี้ค้างชำระ ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบส่วนต่างนั้น
- ยึดสินทรัพย์
การยึดสินทรัพย์คือการยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อให้ทรัพย์สินที่จำนองหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าหนี้ ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่ชำระดอกเบี้ยตามที่กำหนดเป็นเวลา 5 ปี เจ้าหนี้มีสิทธิยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อให้ทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของตน โดยต้องมีการส่งหนังสือแจ้งเตือนลูกหนี้ก่อนเช่นกัน
ทรัพย์สินที่สามารถบังคับจำนองได้
โดยปกติ การบังคับจำนองทรัพย์สินสามารถทำได้ใน 2 ลักษณะ ดังนี้:
การบังคับจำนองทรัพย์สินที่จำนองกับเจ้าหนี้หลายราย
ในกรณีที่ลูกหนี้นำทรัพย์สินไปจำนองกับเจ้าหนี้หลายราย หากเกิดการบังคับจำนอง เจ้าหนี้ที่จดทะเบียนจำนองก่อนจะมีสิทธิ์ได้รับการชำระหนี้ก่อน หมายความว่า เจ้าหนี้ที่มีการจดทะเบียนก่อนจะมีสิทธิ์ในทรัพย์สินที่จำนอง โดยถือวันและเวลาที่จดทะเบียนเป็นสำคัญ
การบังคับจำนองทรัพย์สินหลายรายการที่มีเจ้าหนี้รายเดียว
ในกรณีที่ลูกหนี้นำทรัพย์สินหลายรายการมาจำนองกับเจ้าหนี้รายเดียว หากลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด เจ้าหนี้มีสิทธิ์ยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อบังคับจำนองทรัพย์สินเหล่านั้น โดยสามารถเลือกบังคับจำนองทรัพย์สินทั้งหมดหรือบางส่วน แต่ไม่สามารถเรียกร้องเกินความจำเป็นได้
เหตุผลที่ทำให้สัญญาจำนองสิ้นสุด
- การไถ่ถอนสำเร็จ
- ผู้จำนองพ้นจากภาระหนี้
- การถอนจำนอง
- การขายทอดตลาดจากการบังคับจำนอง
- ทรัพย์สินที่จำนองถูกบังคับขาย
อายุความในการบังคับจำนอง
การบังคับจำนองจะดำเนินการได้เมื่อศาลมีคำสั่งตัดสินแล้ว โดยศาลจะระบุว่าเจ้าหนี้ต้องดำเนินการบังคับจำนองภายในระยะเวลา 10 ปี นับตั้งแต่วันที่มีคำพิพากษา หากพ้นกำหนดนี้ เจ้าหนี้จะไม่มีสิทธิบังคับจำนองตามคำพิพากษา
บทสรุป บัคคับจำนอง
การบังคับจำนองเป็นกระบวนการทางกฎหมายที่ช่วยให้เจ้าหนี้สามารถเรียกคืนเงินที่กู้ยืมได้ในกรณีที่ลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ตามกำหนดเวลา ผู้ที่ทำธุรกรรมกู้ยืมจึงควรเข้าใจขั้นตอนและข้อบังคับทางกฎหมายเหล่านี้เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
สารบัญ
บทความที่เกี่ยวข้อง
จำนอง – ขายฝาก ผ่าน Loan DD By Land for Loan
Best Deal Guarantee
วงเงินสูง อนุมัติไว ดอกเบี้ยต่ำ
จัดให้ครบ ที่นี่ที่เดียว ที่
Loan DD ❗️
รับจำนอง-ขายฝาก ที่ดิน บ้าน คอนโดดอกเบี้ยถูก เริ่มต้น เพียง!! 0.75% /เดือน ถูกกฎหมาย ปลอดภัย
ปิดหนี้นอกระบบ ปิดหนี้บัตร เป็นธรรม สร้าง-ขยายธุรกิจ หมุนธุรกิจ เงินทุนดอกต่ำ
✅ไม่เช็คแบล็คลิสต์
✅ไม่เช็คเครดิตบูโร
✅อนุมัติไว
สนใจดูรายละเอียดได้ที่ www.loandd.co.th
บริการให้คำปรึกษา ฟรี
LINE ID: @loan-dd
โทร : 065 153 9199