ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน จำนองที่ดินนั้นได้ไหม

Loan DD
ไม่ใช่เจ้าของที่ดินจำนองได้ไหม

ไม่ใช่เจ้าของที่ดิน จำนองได้ไหม

หลาย ๆ คนมักสงสัยว่า หากโฉนดที่ดินที่เป็นของพ่อ แม่ ญาติ หรือคนอื่น ๆ และผู้ที่ต้องการจำนองไม่ใช่เจ้าของที่ดิน จะสามารถนำที่ดินนั้นมาจำนองได้หรือไม่ บทความนี้มีคำตอบ

การนำโฉนดที่ดินไปกู้ยืมเงินมี 2 กรณีหลัก ดังนี้:

การนำโฉนดของผู้อื่นไปจำนอง

โดยทั่วไปแล้ว การจำนองที่ดินต้องกระทำโดยเจ้าของโฉนดที่แท้จริงเท่านั้น การทำธุรกรรมที่ดินจะต้องทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดิน หากมีกรณีที่ญาติหรือคนใกล้ตัวนำโฉนดไปจำนองโดยที่เจ้าของไม่รับรู้หรือยินยอม การกระทำดังกล่าวถือเป็นโมฆะและไม่สามารถใช้บังคับได้ เนื่องจากต้องมีการทำสัญญาต่อหน้าเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดิน การมอบอำนาจให้ผู้อื่นจำนองแทนได้เฉพาะคู่สมรสที่ตกลงยินยอมทำธุรกรรมร่วมกันเท่านั้น หากไม่มีการทำธุรกรรม ณ สำนักงานที่ดินและไม่มีการชำระหนี้ ผู้รับจำนองไม่สามารถฟ้องร้องบังคับคดีขายทอดทรัพย์ได้ แต่สามารถฟ้องร้องในเรื่องการกู้ยืมเงินเท่านั้น

การขโมยโฉนดที่ดินและปลอมลายเซ็นเพื่อทำธุรกรรมจำนอง

การทำธุรกรรมที่ดินในปัจจุบัน หากมีผู้อื่นลักลอบนำโฉนดที่ดินไปปลอมลายเซ็นและทำธุรกรรมจำนอง สามารถตรวจสอบได้ที่กรมธนารักษ์ โดยการป้อนข้อมูลโฉนดเพื่อทราบว่าใครเป็นเจ้าของที่แท้จริง หากพบว่ามีการปลอมแปลงลายเซ็น สามารถตรวจสอบได้ที่สำนักงานที่ดินโดยตรง การกระทำดังกล่าวถือเป็นความผิดทางกฎหมายฐานปลอมแปลงและยักยอก ทั้ผู้นำโฉนดปลอมลายเซ็นและเจ้าหน้าที่ที่รับทำธุรกรรมจะมีความผิดทางกฎหมายด้วย

ดังนั้น การทำธุรกรรมทางที่ดินควรให้เจ้าของโฉนดที่แท้จริงเป็นผู้ดำเนินการและต้องเซ็นสัญญาต่อหน้าเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดิน

การมอบอำนาจ (กรมที่ดิน)

การมอบอำนาจคือการที่บุคคลหนึ่งมอบอำนาจให้อีกบุคคลหนึ่งทำการแทน ซึ่งการกระทำนั้นจะมีผลทางกฎหมายเสมือนว่าตัวการทำด้วยตนเอง โดยบุคคลที่ได้รับมอบอำนาจเรียกว่า “ตัวแทน”

การมอบอำนาจ

การมอบอำนาจให้ดำเนินกิจการที่กฎหมายกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือ

การมอบอำนาจให้ดำเนินกิจการที่กฎหมายกำหนดว่าต้องทำเป็นหนังสือ การมอบอำนาจนั้นก็ต้องทำเป็นหนังสือเช่นกัน เช่น การซื้อขายที่ดินจะต้องทำเป็นหนังสือตามกฎหมาย การมอบอำนาจให้ขายที่ดินก็ต้องทำเป็นหนังสือ โดยควรใช้แบบพิมพ์ของกรมที่ดิน หรืออย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญครบถ้วน

ผู้มอบอำนาจต้องทำหลักฐานการมอบอำนาจเป็นหนังสือและมอบบัตรประจำตัวให้กับผู้รับมอบอำนาจไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ เจ้าของที่ดินและผู้ซื้อควรระมัดระวังและดำเนินการอย่างรอบคอบเพื่อป้องกันการฉ้อโกงหรือความเสียหาย

หนังสือมอบอำนาจควรใช้แบบพิมพ์ของกรมที่ดินซึ่งมีอยู่ 2 แบบ

หนังสือมอบอำนาจควรใช้แบบพิมพ์ของกรมที่ดินซึ่งมีอยู่ 2 แบบ คือ สำหรับที่ดินที่มีโฉนดแล้วและที่ดินที่ยังไม่มีโฉนด หากใช้กระดาษอื่น ควรเขียนข้อความตามแบบพิมพ์ของกรมที่ดินเพื่อความชัดเจนและถูกต้อง

เพื่อรักษาประโยชน์ของเจ้าของที่ดินและผู้ที่เกี่ยวข้อง ควรกรอกข้อมูลให้ครบถ้วนและชัดเจน ระบุเรื่องที่มอบหมายและอำนาจในการจัดการให้ชัดเจน เช่น การซื้อขายหรือจำนอง หากมีเงื่อนไขเพิ่มเติมก็ให้ระบุไว้ อย่ากรอกข้อความต่างลายมือหรือใช้น้ำหมึกต่างสีกัน ผู้มอบอำนาจต้องลงลายมือชื่อกำกับทุกแห่งที่มีการขูดลบแก้ไข และควรมีพยานอย่างน้อย 1 คน แต่หากผู้มอบอำนาจพิมพ์ลายนิ้วมือ ต้องมีพยาน 2 คน

หนังสือมอบอำนาจที่ทำในต่างประเทศควรให้สถานทูต สถานกงสุล หรือโนตารีปัปลิครับรองด้วย

สรุปไม่ใช่เจ้าของที่ดิน จำนองที่ดินนั้นได้ไหม

 การจำนองตามกฎระเบียบของสำนักงานที่ดินต้องทำสัญญาต่อหน้าเจ้าหน้าที่สำนักงานที่ดินเท่านั้น หากไม่ได้ทำสัญญาต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ข้อตกลงทุกอย่างจะเป็นโมฆะและไม่สามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นจำนองแทนได้ ฉะนั้น หากไม่ใช่เจ้าของที่ดิน จะไม่สามารถทำสัญญาขายฝากหรือจำนองได้

สารบัญ

บทความที่เกี่ยวข้อง
จำนอง – ขายฝาก ผ่าน Loan DD By Land for Loan
Best Deal Guarantee
วงเงินสูง  อนุมัติไว ดอกเบี้ยต่ำ

จัดให้ครบ ที่นี่ที่เดียว  ที่

Loan DD ❗️

รับจำนอง-ขายฝาก ที่ดิน บ้าน คอนโดดอกเบี้ยถูก เริ่มต้น เพียง!! 0.75% /เดือน  ถูกกฎหมาย ปลอดภัย
ปิดหนี้นอกระบบ ปิดหนี้บัตร เป็นธรรม สร้าง-ขยายธุรกิจ หมุนธุรกิจ เงินทุนดอกต่ำ

✅ไม่เช็คแบล็คลิสต์

✅ไม่เช็คเครดิตบูโร

✅อนุมัติไว

 

สนใจดูรายละเอียดได้ที่ www.loandd.co.th

บริการให้คำปรึกษา ฟรี 

LINE ID: @loan-dd
โทร :  065 153 9199

ติดต่อเรา LoanDD

เราช่วยต่อยอดให้ทุกคนสามารถแปลงโฉนดเป็นทุน เข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ถูกกฎหมาย และตอบโจทย์นักลงทุนรุ่นใหม่ที่สนใจลงทุนอสังหาริมทรัพย์