คำถามที่พบบ่อย
Loan DD
สำหรับผู้กู้ยืม
ขายฝาก คือ สัญญาซื้อขายซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปยังผู้ซื้อ โดยมีข้อตกลงกันว่าผู้ขายอาจไถ่ทรัพย์นั้นคืนได้ โดยราคาซื้อคืนมักรวมดอกเบี้ยเข้าไปแล้ว
ข้อแตกต่าง ระหว่างขายฝาก กับ จำนอง
1.ผลทางกฎหมายเมื่อผู้กู้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ จำนองหากผู้กู้ไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้จะต้องไปฟ้องคดีต่อศาลให้มีคำสั่งยึดทรัพย์ ขายทอดตลาดเพื่อนำเงินไปคืนเจ้าหนี้ แต่ขายฝากหากผู้กู้ไม่ชำระเงินพร้อมดอกเบี้ย สิทธิในการไถ่ทรัพย์สินคืนจะหมดไป และกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์นั้นจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากโดยสมบูรณ์โดยไม่ต้องมีการฟ้องร้องคดีต่อศาล
2.การชำระดอกเบี้ย การขายฝากนั้นไม่มีการผ่อนชำระคืนเงินเป็นงวด ๆ แบบเงินกู้ แต่กำหนดชำระคืนงวดเดียวเมื่อครบกำหนดเวลาไถ่
3.ค่าธรรมเนียม จำนองเสียค่าธรรมเนียมร้อยละ1++จากยอดเงินกู้ ส่วนขายฝากเสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 2จากราคาประเมิน
ผู้กู้ยืมสามารถคำนวณผ่านเว็ปไซต์กรมที่ดิน คลิกเลย
ขายฝาก
1.ค่าภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คิดตามเกณฑ์ของกรมสรรพากร
2.ค่าธรรมเนียมการโอน(ขายฝากมีลักษณะเป็นการโอนกรรมสิทธิ์) 2% ของราคาประเมินกรมธนารักษ์
3.ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% (ในกรณีผู้ขายฝากถือครองทรัพย์มาได้ไม่นาน)
4.ค่าคำขอ ค่าพยาน ตามเกณฑ์ของกรมที่ดิน
ประเมินโดยใคร?
Loan DD ไม่ได้เป็นผู้ประเมินราคาทรัพย์ของผู้กู้เอง แต่ทางบริษัทจะประสานงานกับบุคคลภายนอกให้เป็นหน้าที่ของบริษัทประเมินที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์หรือกลต. เข้ามาทำการประเมินทรัพย์สินของผู้กู้ โดยให้ผู้กู้เป็นผู้ว่าจ้างและเสียค่าใช้จ่ายด้วยตนเองและรายงานประเมินฉบับนั้นๆจะเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้กู้ โดย Loan DD มีสิทธินำข้อมูลนั้นแสดงต่อนายทุนเพื่อประกอบการตัดสินใจให้กู้ยืม
ผู้กู้จะได้วงเงินเท่าไรของราคาประเมิน
เนื่องจากดอกเบี้ยของการกู้ยืมที่ผ่านระบบ Loan DD มีราคาต่ำกว่านายทุนนอกระบบส่วนใหญ่ เราจึงต้องมีมาตรการจำกัดวงเงินกู้ เพื่อป้องกันความเสี่ยงให้นักลงทุนควบคู่ไปด้วยดังนี้
การจัดหานายทุนของ Loan DD เป็นระบบเปิดห้องประมูลให้นายทุนเสนอข้อเสนอวงเงินสินเชื่อและดอกเบี้ย
โดยมีข้อเสนอตั้งต้นดังนี้
กรณีจำนอง เริ่ม 35-40% ของราคาประเมิน แต่ไม่เกิน50%
กรณีขายฝากเริ่ม 45-50% ของราคาประเมิน แต่ไม่เกิน65%
*หากต้องการสอบถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ หรือที่ landforloanthailand@gmail.com
Loan DD และสมาชิกนายทุน พิจารณาจากทรัพย์ที่เป็นหลักประกันแต่เพียงอย่างเดียวและจะไม่ขอดูประวัติการชำระหนี้และเอกสารแสดงรายได้ใด
หลังจากผู้กู้ได้ส่งข้อมูลทรัพย์และติดต่อนัดบริษัทประเมินเข้าประเมินทรัพย์สินแล้ว จะใช้เวลาประเมินทรัพย์สินไม่เกิน 7 วัน หลังจากได้รายงานประเมินและตรวจสอบเอกสารแล้วทรัพย์ของผู้กู้จะถูกขึ้นประมูลให้ส่งข้อเสนอภายใน7วัน
การขยายกำหนดเวลาไถ่สามารถทำได้
โดยผู้ขายฝากและผู้ซื้อฝากจะต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับซื้อฝากและจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน
ทำสัญญาขยายเวลาไถ่กี่ครั้งก็ได้แต่รวมกันแล้วจะต้องไม่เกิน 10ปี นับตั้งแต่วันทำสัญญาขายฝาก
ถ้าข้อตกลงขยายระยะเวลาไถ่ขายฝากไม่นำไปจดทะเบียนจะยกเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตมิได้
ระยะเวลาไถ่ขายฝากจะต้องจดทะเบียนไว้ที่โฉนด ณ กรมที่ดิน
กำหนดไว้1ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน10ปี ต้องของไถ่ถอนภายในกำหนดเวลาสัญญาขายฝาก หรือภายในเวลาที่กำหนด
การทำข้อตกลงขยายระยะเวลาไถ่ขายฝากจะต้องทำเป็นหนังสือจดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน