ขายฝาก VS ฝากขาย ต่างกันอย่างไร
ขายฝาก vs ฝากขาย ความหมายนั้นต่างกัน เพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิด วันนี้เราจะมาอธิบายและสรุปความแตกต่างระหว่างสองคำนี้กัน
ขายฝาก
ขายฝากคือการทำสัญญาซื้อขายทรัพย์สิน โดยผู้ขายฝากนำทรัพย์สิน เช่น อสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ มาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันการกู้ยืมเงิน การขายฝากมีการทำสัญญาต่อหน้าเจ้าพนักงาน ณ กรมที่ดิน มีกฎหมายรองรับ ทำให้ผู้ขายฝากสามารถกู้ยืมเงินได้รวดเร็ว โดยไม่ต้องรอผ่านธนาคาร และไม่ต้องตรวจสอบประวัติแบล็คลิสต์ เครดิตทางการเงิน หรือ Statement วงเงินอนุมัติสูงสุดอาจถึง 70 เปอร์เซ็นต์ของราคาประเมิน
ในการขายฝาก ผู้ขายฝากจะได้รับเงินทันทีที่ทำสัญญา โดยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันที แต่ผู้ขายฝากยังคงมีสิทธิ์ครอบครองและใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินต่อไปได้จนกว่าจะพ้นกำหนดไถ่ถอน ซึ่งระยะเวลาในการไถ่ถอนทรัพย์สินตามกฎหมายไม่เกิน 10 ปี โดยผู้รับซื้อฝากจะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยสูงสุด 15 เปอร์เซ็นต์ต่อปี และได้รับเงินทุนคืนเมื่อมีการไถ่ถอน
หากผู้ขายฝากไม่สามารถไถ่ถอนทรัพย์สินได้ภายในระยะเวลาที่กำหนด หรือไม่มาขอต่อสัญญา ทรัพย์สินนั้นจะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับซื้อฝากโดยสมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม ในช่วงเวลาระหว่างสัญญาการขายฝาก ผู้รับซื้อฝากไม่สามารถนำทรัพย์สินนั้นไปทำนิติกรรมใด ๆ ได้
ฝากขาย
ฝากขายคือการที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ เช่น บ้าน ที่ดิน คอนโด หรือทรัพย์สินอื่น ๆ มอบหมายให้ตัวแทนนายหน้า หรือโบรกเกอร์ ช่วยทำการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ และขายทรัพย์สินนั้น ๆ เพื่อให้ขายได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ต้องจ่ายค่าคอมมิชชั่นให้กับตัวแทนนายหน้า ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ของราคาทรัพย์สินที่ขายได้
ในกระบวนการฝากขาย กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะยังคงเป็นของเจ้าของเดิมจนกว่าจะมีการขายทรัพย์สินได้จริง หลังจากขายได้แล้ว กรรมสิทธิ์จึงจะถูกโอนให้ผู้ซื้อใหม่
ข้อดีของการขายฝาก
- การขายฝากทำให้ลูกหนี้ได้รับการอนุมัติกู้ยืมเงินได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องผ่านธนาคาร
- สามารถได้วงเงินสูงสุดถึง 70 เปอร์เซ็นต์ของราคาประเมิน
- มีการทำสัญญาระหว่างผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝากที่กรมที่ดิน จึงได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
- ไม่จำเป็นต้องตรวจสอบประวัติการเงิน เครดิต หรือ Statement
- ลูกหนี้สามารถไถ่ถอนทรัพย์สินคืนได้
- สามารถขยายระยะเวลาไถ่ถอนออกไปได้สูงสุดไม่เกิน 10 ปี หากยังไม่สามารถไถ่คืนทรัพย์สินได้
- ผู้ขายฝากยังคงครอบครองที่ดินและใช้ประโยชน์ต่อไปได้จนกว่าจะพ้นกำหนดไถ่
สรุปความแตกต่างระหว่างการขายฝาก VS ฝากขาย
- การขายฝากเป็นการทำสัญญาซื้อฝาก-ขายฝากที่กรมที่ดิน ในขณะที่การฝากขายเป็นการทำสัญญาข้อตกลงเรื่องค่าคอมมิชชั่นกับตัวแทนนายหน้า
- คู่สัญญาในการขายฝากคือผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝาก แต่การฝากขายคู่สัญญาคือเจ้าของทรัพย์สินและตัวแทน/นายหน้า
- การขายฝากเป็นการขายและให้โอกาสในการซื้อคืน ในขณะที่การฝากขายเป็นการมอบหมายให้บุคคลอื่นขายทรัพย์สินแทนและได้รับค่าคอมมิชชั่น
- ในการขายฝาก กรรมสิทธิ์โอนทันทีที่ทำสัญญา แต่การฝากขาย กรรมสิทธิ์จะไม่โอนจนกว่าจะขายทรัพย์สินได้จริง
- การขายฝากให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินแก่ผู้รับซื้อฝากทันทีเมื่อจดทะเบียน แต่การฝากขายกรรมสิทธิ์ยังคงเป็นของเจ้าของทรัพย์จนกว่าจะเสนอขายและทำสัญญา
- การขายฝากถึงแม้จะโอนกรรมสิทธิ์แล้ว แต่สามารถไถ่ถอนทรัพย์สินคืนได้ ในขณะที่การฝากขายเป็นการขายขาด
- การขายฝากต้องจ่ายดอกเบี้ยตามสัญญา แต่การฝากขายเป็นการขายขาดจึงไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย
การขายฝากและฝากขายมีความหมายและวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน การขายฝากคือการขายให้ผู้รับซื้อฝากและมีโอกาสซื้อคืนได้ ส่วนการฝากขายคือการฝากทรัพย์สินให้ตัวแทนนายหน้าขายขาด หวังว่าผู้อ่านจะสามารถเลือกใช้ได้ตามวัตถุประสงค์และความต้องการของตนเอง
สารบัญ
บทความที่เกี่ยวข้อง
จำนอง – ขายฝาก ผ่าน Loan DD By Land for Loan
Best Deal Guarantee
วงเงินสูง อนุมัติไว ดอกเบี้ยต่ำ
จัดให้ครบ ที่นี่ที่เดียว ที่
Loan DD ❗️
รับจำนอง-ขายฝาก ที่ดิน บ้าน คอนโดดอกเบี้ยถูก เริ่มต้น เพียง!! 0.75% /เดือน ถูกกฎหมาย ปลอดภัย
ปิดหนี้นอกระบบ ปิดหนี้บัตร เป็นธรรม สร้าง-ขยายธุรกิจ หมุนธุรกิจ เงินทุนดอกต่ำ
✅ไม่เช็คแบล็คลิสต์
✅ไม่เช็คเครดิตบูโร
✅อนุมัติไว
สนใจดูรายละเอียดได้ที่ www.loandd.co.th
บริการให้คำปรึกษา ฟรี
LINE ID: @loan-dd
โทร : 065 153 9199