ขายฝาก จำนอง มอบอำนาจได้หรือไม่

Loan DD
ขายฝาก จำนอง มอบอำนาจ

ขายฝาก จำนอง มอบอำนาจได้หรือไม่

ขายฝาก จำนอง มอบอำนาจได้หรือไม่ หากทำได้มีเอกสารใดบ้างที่จำเป็นจะต้องใช้ในการมอบอำนาจ จะต้องดำเนินการอย่างไร เพื่อความสมบูรณ์ในการมอบอำนาจ

การทำธุรกรรมขายฝากหรือจำนองที่กรมที่ดินเป็นเรื่องที่ต้องให้เจ้าของทรัพย์หรือคู่สัญญาไปด้วยตัวเอง พร้อมเอกสารหลักฐานทั้งฉบับจริงและสำเนาให้พร้อมกันทั้งสองฝ่าย เจ้าหน้าที่กรมที่ดินถึงจะทำธุรกรรมได้ แต่ในบางกรณี ผู้ขายฝาก (เจ้าของทรัพย์) และผู้รับซื้อฝาก (นายทุน) ไม่สามารถไปด้วยตัวเองได้ จะทำธุรกรรมได้หรือไม่ คำตอบคือ ได้ แม้ในกรณีที่ทั้งผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝากมอบอำนาจให้บุคคลเดียวไปทำธุรกรรมก็ยังได้ แต่ต้องทำให้การทำธุรกรรมสมบูรณ์ตามกฎหมาย เรามาดูกันว่าต้องทำอย่างไร

สิ่งแรกที่สำคัญที่สุดในการมอบอำนาจคือ หนังสือมอบอำนาจที่ถูกต้องตามฟอร์มของสำนักงานที่ดิน หนังสือมอบอำนาจนี้เรียกว่า “หนังสือมอบอำนาจ ท.ด.21” สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์กรมที่ดินหรือขอได้ที่สำนักงานที่ดินใกล้บ้าน แต่แนะนำให้ไปขอที่กรมที่ดินเนื่องจากจะมีตัวอย่างการเขียนหนังสือมอบอำนาจ ท.ด.21 ที่ถูกต้อง เพื่อลดข้อผิดพลาดและประหยัดเวลาในวันที่ไปทำธุรกรรมจริง

ก่อนทำธุรกรรม ไม่ว่าจะเป็นการขายฝากหรือจำนอง ผู้รับมอบอำนาจต้องตรวจสอบเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่สำคัญให้ครบถ้วน พร้อมทั้งเขียนข้อความในหนังสือมอบอำนาจให้ถูกต้อง เพื่อไม่ให้เสียเวลาในวันที่ไปทำธุรกรรมจริง หากเอกสารหลักฐานไม่ครบ เมื่อไปถึงเจ้าหน้าที่กรมที่ดินจะปฏิเสธการจดนิติกรรมทันที

ส่วนเอกสารหลักฐานที่ต้องเตรียมไว้พร้อมกับหนังสือมอบอำนาจ ท.ด.21 คือ

-หนังสือมอบอำนาจ (ท.ด.21)
-บัตรประชาชนผู้รับมอบอำนาจ
-ทะเบียนบ้านผู้รับมอบอำนาจ
-สำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจ พร้อมเซ็นรับรอง
-สำเนาทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจ พร้อมเซ็นรับรอง
-โฉนดทรัพย์

ถ้ามีคู่สมรสด้วย ต้องใช้หลักฐานประกอบด้วย คือ

-หนังสือยินยอมของคู่สมรส พร้อมระบุเรื่องที่จะทำให้ถูกต้อง
-สำเนาบัตรประชาชนของคู่สมรส
-สำเนาทะเบียนบ้านของคู่สมรส
-สำเนาทะเบียนสมรส
-ในกรณีหย่า ใช้สำเนาใบจดทะเบียนหย่า
-ในกรณีที่คู่สมรสเสียชีวิต ใช้สำเนาใบมรณะบัตร

ในการทำธุรกรรมที่กรมที่ดิน ผู้รับมอบอำนาจต้องตรวจสอบเอกสารและความถูกต้องก่อนและหลังทำนิติกรรมเสร็จ

การมอบอำนาจในการทำธุรกรรมนั้น บางครั้งผู้รับซื้อฝากหรือนายทุนอาจต้องการที่จะไปทำด้วยตนเอง เพื่อพบกับฝ่ายขายฝากหรือเจ้าของทรัพย์ลูกหนี้เพื่อสนทนาและยืนยันตัวตน และเพื่อลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ นอกจากนี้เจ้าหน้าที่กรมที่ดินก็อาจต้องการให้ฝ่ายผู้รับซื้อฝากและฝ่ายขายฝากมาทำธุรกรรมด้วยตนเองเพื่อยืนยันตัวตน

สรุปขายฝาก จำนอง มอบอำนาจได้หรือไม่

สรุปได้ว่า การให้บุคคลอื่นไปทำธุรกรรมโดยมอบอำนาจไม่ว่าจะเป็นการจำนองหรือขายฝากก็สามารถทำได้ตามปกติ แต่จำเป็นต้องใช้หลักฐานและเอกสารต่างๆ ตรงตามหนังสือมอบอำนาจ (ท.ด.21) และต้องเรียบร้อยในวัตถุประสงค์ของการทำนิติกรรมเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

สารบัญ

บทความที่เกี่ยวข้อง
จำนอง – ขายฝาก ผ่าน Loan DD By Land for Loan
Best Deal Guarantee
วงเงินสูง  อนุมัติไว ดอกเบี้ยต่ำ

จัดให้ครบ ที่นี่ที่เดียว  ที่

Loan DD ❗️

รับจำนอง-ขายฝาก ที่ดิน บ้าน คอนโดดอกเบี้ยถูก เริ่มต้น เพียง!! 0.75% /เดือน  ถูกกฎหมาย ปลอดภัย
ปิดหนี้นอกระบบ ปิดหนี้บัตร เป็นธรรม สร้าง-ขยายธุรกิจ หมุนธุรกิจ เงินทุนดอกต่ำ

✅ไม่เช็คแบล็คลิสต์

✅ไม่เช็คเครดิตบูโร

✅อนุมัติไว

 

สนใจดูรายละเอียดได้ที่ www.loandd.co.th

บริการให้คำปรึกษา ฟรี 

LINE ID: @loan-dd
โทร :  065 153 9199

ติดต่อเรา LoanDD

เราช่วยต่อยอดให้ทุกคนสามารถแปลงโฉนดเป็นทุน เข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ถูกกฎหมาย และตอบโจทย์นักลงทุนรุ่นใหม่ที่สนใจลงทุนอสังหาริมทรัพย์